ตรงกันข้ามกับการบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับเทพต่างๆ โรมันจะมีตำนานมากมายที่เกี่ยวกับการก่อตั้งและความรุ่งเรืองของเมืองต่างๆ นอกไปจากเรื่องราวที่เล่าขานกันตามท้องถิ่น ก็มีการเพิ่มเติมตำนานวีรบุรุษของกรีกที่ปะติดปะต่อกับตำนานพื้นบ้านโรมันมาตั้งแต่สมัยแรก ตัวอย่างเช่นอีเนียสของโรมันก็ถูกดึงไปเป็นสามีของลาวิเนียพระราชธิดาของกษัตริย์ลาตินัสผู้เป็นบรรพบุรุษของชนละติน ฉะนั้นจึงเป็นบรรพบุรุษของรอมิวลุส และรีมุส ฉะนั้นตำนานเกี่ยวกับโทรจันจึงกลายเป็นตำนานลึกลับเกี่ยวกับบรรบุรุษของชาวโรมัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ทหารม้าโรมันแต่งเครื่องแบบที่มาจากภาพวาดของโทรจัน กวีนิพนธ์ “เอนิอิด” (Aeneid) และ หนังสือสองสามเล่มแรกโดยนักประวัติศาสตร์โรมันลิวี” (Livy) เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดเกี่ยวกับปรำปราวิทยาของมนุษย์ดังกล่าว
ประเพณีปฏิบัติต่างๆ โดยนักบวชของทางการของโรมันก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สร้างความแตกต่างของเทพสองระดับ “di indigetes” และ “di novensides”/“novensiles” กลุ่ม “di indigetes” หมายถึงทวยเทพดั้งเดิมของโรมัน ชื่อและรายละเอียดของเทพกลุ่มนี้ระบุด้วยตำแหน่งของนักบวชรุ่นแรกที่สุดและโดยวันเทศกาลที่เฉพาะเจาะจงที่มีด้วยกัน 30 องค์ที่มีเทศกาลที่ระบุอย่างเฉพาะเจาะจง ส่วน “di novensides”/“novensiles” คือเทพรุ่นต่อมาที่เข้ามาตามเมืองต่างๆ ในภายหลัง และมักจะทราบเวลาที่เข้ามาตามความจำเป็นของสถานการณ์หรือวิกฤติการณ์ ทวยเทพดั้งเดิมนอกไปจาก “di indigetes” เป็นกลุ่มทวยเทพที่เรียกว่า “เทพเฉพาะกิจ” เช่นเทพแห่งการเก็บเกี่ยว เศษชิ้นส่วนจากประเพณีที่เกี่ยวข้องกับกิจการต่างๆ เช่นการไถหรือการหว่านทำให้เราทราบว่ากระบวนการทุุกขั้นตอนของกิจการของโรมันต่างก็มีเทพเฉพาะกิจต่างๆ กันไป ชื่อของเทพก็จะมาจากคำกิริยาของกิจการที่กระทำ เทพเหล่านี้ก็จะจัดเป็นกลุ่มภายใต้กลุ่มกว้างๆ หรือ กลุ่มเทพสนับสนุน (attendant หรือ auxiliary gods) ผู้ที่จะได้รับการกล่าวนามพร้อมกับเทพระดับสูง
เทพเฉพาะกิจและเทศกาลที่เกี่ยวข้องทำให้เราทราบว่าชาวโรมันสมัยแรกนอกจากจะเป็นกลุ่มชนที่เป็นสังคมเกษตรกรรม แต่ยังเป็นสังคมที่นิยมการต่อสู้ และ มักจะนิยมการทำสงคราม นอกจากจะมีเทพเฉพาะกิจในด้านการเกษตรแล้วชาวโรมันก็ยังมีเทพเฉพาะกิจในกิจการประจำวันที่ต้องทำการสักการะบูชาตามความเหมาะสมด้วย ฉะนั้นเทพแจนัส และ เทพีเวสตาก็จะเป็นผู้รักษาประตูและเตาผิง, เทพลารีสพิทักษ์ที่ดินและบ้าน, เทพพาลีสพิทักษ์ท้องทุ่ง, เทพแซทเทิร์นพิทักษ์การหว่าน, เทพีเซเรสพิทักษ์การเจริญเติบโตของธัญพืช, เทพีโพโมนาพิทักษ์ผลไม้ และ เทคอนซัสพิทักษ์ธัญญาหารและสถานที่เก็บรักษาธัญญาหาร และ เทพีอ็อพสพิทักษ์การเก็บเกี่ยวและเป็นเทพีแห่งการเจริญพันธุ์ แม้แต่เทพจูปิเตอร์ผู้เป็นประมุขของทวยเทพก็ยังทรงเป็นเทพที่ช่วยให้ฝนตกเพื่อช่วยในการเกษตรกรรม และคุณลักษณะทั่วไปของพระองค์จากการที่ทรงมีสายฟ้าเป็นอาวุธทำให้ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้อำนวยการของกิจการที่มนุษย์กระทำ และการที่ทรงมีอำนาจอันยิ่งใหญ่และกว้างขวางทำให้ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์กิจการทางทหารของชาวโรมันที่นอกไปจากในบริเวณเขตแดนของตนเอง เทพเจ้าสำคัญในสมัยแรกก็ได้แก่เทพมาร์ส และ เทพควิรินัส ผู้มักจะเป็นเทพในกลุ่มเดียวกัน เทพมาร์สเป็นเทพเจ้าแห่งการสงครามที่ทำการฉลองกันในเดือนมีนาคมและตุลาคม ส่วนเทพควิรินัสเชื่อกันโดยนักวิชาการสมัยใหม่ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งประชาคมผู้ถืออาวุธในยามสันติ
ในกลุ่มเทพของสมัยแรกก็มีไตรเทพ (triad) ที่สำคัญคือ เทพจูปิเตอร์, เทพมาร์ส และ เทพควิรินัส เทพในสมัยแรกมักจะไม่มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สำคัญ และประวัติก็ไม่มีเรื่องราวของการสมรสหรือบรรพบุรุษ ซึ่งไม่เหมือนกับเทพเจ้ากรีกเพราะจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์เดินดิน ฉะนั้นจึงแทบจะไม่มีเรื่องราวของกิจการที่กระทำ
เจนัส(Janus)เทพแห่งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เทพแห่งทวารทางเข้าออก สงคราม และสันติภาพ เป็นผู้อุปถัมภ์การกำเนิดของสิ่งต่างๆ ถึงแม้จะเป็นเทพที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในบรรดาเทพทั้งปวงของโรมัน แต่ไม่เป็นที่รู้จักของกรีกเลย
นักเทวดาตำนานเห็นว่า เจนัส(Janus)เป็นโอรสของอพอลโล(Apollo) ถึงแม้จะถือกำเนิดในเทสซารี แต่ช่วงแรกๆ ของชีวิตทรงมาอยู่ในอิตาลี และทรงก่อตั้งเมืองในแม่น้ำไทเบอร์ขึ้น ซึ่งพระองค์ทรงตั้งนามเมืองว่า เจนิคิวลัม(Janiculum) ที่เมืองนี้ พระองค์ได้ร่วมกับเทพแซเทิร์น(Saturn)ผู้ถูกเนรเทศโดยร่วมบัลลังก์กัน ทั้งสองนี้ได้ร่วมกันทำให้ผูคนในอิตาลีที่ป่าเถื่อนนั้นมีอารยรธรรมขึ้น แล้วทรงอวยพรให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งยุคสมัยที่ท่านครองอยู่มีกเรียกว่า"ยุคทอง"
เจนัส(Janus)โดยทั่วไปแล้วจะปรากฏพระองค์มีสองพักตร์ หันไปในทิศทางตรงข้ามกัน เหตุด้วยพระองค์ทรงคุ้นเคยกับอดีตและอนาคตพอๆกับปัจจุบัน และเพราะถือว่าพระองค์เป็นเครื่องหมายแห่งตะวัน ที่เกิดทิวาวารเมื่อเริ่มรุ่งราง และปิดวันวารเมื่อยามโรยร่วง
บางรูปปั้นปรากฏพระองค์ด้วยพรพักตร์ที่มีเกศสและมัสสุขาว บางรูปปั้นก็ปรากฏในรูปที่เป็นชายหนุ่ม ขณะที่บางรูปปั้นสร้างให้ทรงมีสามเศียรหรือสี่เศียร
นักเทวดาตำนานเห็นว่า เจนัส(Janus)เป็นโอรสของอพอลโล(Apollo) ถึงแม้จะถือกำเนิดในเทสซารี แต่ช่วงแรกๆ ของชีวิตทรงมาอยู่ในอิตาลี และทรงก่อตั้งเมืองในแม่น้ำไทเบอร์ขึ้น ซึ่งพระองค์ทรงตั้งนามเมืองว่า เจนิคิวลัม(Janiculum) ที่เมืองนี้ พระองค์ได้ร่วมกับเทพแซเทิร์น(Saturn)ผู้ถูกเนรเทศโดยร่วมบัลลังก์กัน ทั้งสองนี้ได้ร่วมกันทำให้ผูคนในอิตาลีที่ป่าเถื่อนนั้นมีอารยรธรรมขึ้น แล้วทรงอวยพรให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง จนกระทั่งยุคสมัยที่ท่านครองอยู่มีกเรียกว่า"ยุคทอง"
เจนัส(Janus)โดยทั่วไปแล้วจะปรากฏพระองค์มีสองพักตร์ หันไปในทิศทางตรงข้ามกัน เหตุด้วยพระองค์ทรงคุ้นเคยกับอดีตและอนาคตพอๆกับปัจจุบัน และเพราะถือว่าพระองค์เป็นเครื่องหมายแห่งตะวัน ที่เกิดทิวาวารเมื่อเริ่มรุ่งราง และปิดวันวารเมื่อยามโรยร่วง
บางรูปปั้นปรากฏพระองค์ด้วยพรพักตร์ที่มีเกศสและมัสสุขาว บางรูปปั้นก็ปรากฏในรูปที่เป็นชายหนุ่ม ขณะที่บางรูปปั้นสร้างให้ทรงมีสามเศียรหรือสี่เศียร
จูปิเตอร์ คือปะมุขแห่งทวยเทพ สถิตอยู่ ณ ยอดเขาโอลิมปัส มีมเหสีคือจูโน อาวุธคู่กายคือสายฟ้า พระองค์มีฤทธิ์เหนือเทพทั้งมวล กล่าวกันว่าต่อให้ผูกเชือกทองกับสวรรค์แล้วให้เทพทุกองค์ดึงจูปิเตอร์ลงมาก็ไม่อาจทำได้ ข้อเสียของจูปิเตอร์คือความเจ้าชู้ ซึ่งหลายครั้งกลายเป็นชนวนความวุ่นวายในตำนานเทพ
ตามนิสัยของจูปิเตอร์ หากพอใจหญิงใด ก็จะทำทุกอย่างให้ได้นางมาครอง วันหนึ่งขณะที่นางยูโรปากำลังเก็บดอกไม้อยู่ในทุ่ง นางพบโคลักษณะงามและเชื่องตัวหนึ่งจึงขึ้นนั่งหลัง ทันใดนั้นโคก็เผ่นหนีลงทะเลแล้วนำนางยูโรปามาไว้ที่เกาะครีตพร้อมแสดงตนว่าคือเทพจูปิเตอร์นั่นเอง
เทพผู้เป็นเจ้าแห่งการสงครามคือ มาร์ส (Mars) หรือ เอเรส (Ares) ซึ่งเป็นชู้รักของเทวีอโฟรไดที่ เธอเป็นบุตรองค์หนึ่งของเทพปริณายก ซูส กับเจ้าแม่ ฮีรา และเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ทั้งปวงเว้นแต่ชาวโรมัน ผู้มีนิสัยชอบการสงคราม
ชาวโรมันเทิดทูนสดุดีเทพองค์นี้ยิ่งนัก ถึงกับอุปโลกน์ให้เป็นเทพบิดาของ โรมิวลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรม และพรรณาสรรเสริญเกียรติคุณของเธอนานัปการ ตรงกันข้ามกับชาวกรีก ซึ่งนอกจากจะไม่นิยมเลื่อมใสเทพองค์นี้แล้ว ยังถือว่า เธอเป็นเทพที่มีสันดานป่าเถื่อนดุร้าย ปราศจากความเมตตากรุณาเสียอีก
ในมหากาพย์อิเลียด ซึ่งเป็นบทกวี เกี่ยวกับการ สงคราม แท้ ๆ เธอเป็นที่เกลียดชังตลอดเรื่อง นักกวีโฮเมอร์ถึงแก่ประณามเธอว่า "ยินดีในการประหัตประหาร มีมลทินด้วยเลือด เป็นอุบาทว์สำหรับมนุษย์ทั้งปวง" เมื่อสรุปตามสายตาของกรีกดังกล่าว โดยสำนวนปัจจุบัน เราจะเห็นว่า เอเรสคือ เทพอันธพาลของกรีก
เอเรสเป็นโอรสขององค์เทพซูสกับฮีร่าเทวี และทรงเป็นโอรสที่เทพบิดาซูส ตรัสใส่หน้าเลยว่า "เจ้าเป็นที่น่าชังที่ สุดในบรรดาลูกของข้า ทั้งโหดร้าย ดื้อด้านเหมือนแม่เจ้าไม่ผิด!" ซึ่งวาทะประโยคนี้นับว่าวิจารณ์อุปนิสัยใจคอของ เอเรสได้ตรงเป็นที่สุด นอกจากโหดร้ายและดื้อดึง เอเรสยังบุ่มบ่าม โกรธง่าย และนิยมความรุนแรงมาก นับว่าเป็นอุปนิสัยที่ แตกต่างกับเจ้าแม่เอเธน่า มากซึ่งเป็นเทวีแห่งสงครามเหมือนกัน เอเธน่านั้นสุขุม เฉลียวฉลาดและกล้าหาญ จึงได้รับการ ยกย่องทั่วทุกหนแห่ง เป็นเหตุให้เอเรสเกิดจิตริษยาเอามาก เป็นดั่งว่า "ฟ้าให้เอเรสเกิดแล้วไฉนให้เอเธน่ามาเกิดอีกเล่า" เวลาพบกันทีไรจึงมักมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ
อ้างอิงจาก อ้างอิงจาก
http://th.wikipedia.org/wikihttps://sites.google.com/site/5102667rsu/arc213/final_
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น